เปิดตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ในสมัยรัชกาลที่ 5

เนื่องจากในปัจจุบันเราพบเห็นทั้งร้านกาแฟ ร้านอาหารไทยนำใบกัญชามาปรุงอาหารกันมากมาย  แต่การใช้ใบกัญชามาปรุงอาหารเป็นเทรนด์ใหม่ในปัจจุบันนี้จริงหรือ ? ถ้าเราลองพลิกตำราอาหารไทย แม่ครัวหัวป่าก์  ซึ่งตีพิมพ์ในช่วงปลายรัชสมัย ร.5 พ.ศ.2452   เขียนโดย “ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์” โดยมีธิดาคือ คุณหญิพวง ดำรงราชพลขันธ์ เป็นผู้เรียบเรียง  ใครที่อยากลองปรุงเมนูนี้ก็สามารถและเปิดไปที่หน้า 139 จะพบเมนู “แกงปลาไหลใส่กัญชา” เมนูยอดนิยมของผู้ชายในสมัยนั้น (เชื่อว่ามีสารช่วยเพิ่มสมรรถภาพ)

 “ใบกัญชา” ถูกนำมาปรุงอาหารในประเทศไทยมาแล้วถึงกว่าร้อยปี และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในตำราแม่ครัวหัวป่าก์นี้  กัญชากับภูมิปัญญาไทยในอาหารที่มีมาแต่โบราณ

  • ในอดีตเมนูอาหารจากกัญชาไม่ได้พูดถึงสรรพคุณของกัญชาในเชิงการแพทย์เท่าไหร่ แต่เราใช้กัญชาปรุงอาหารด้วยภูมิปัญญามาตั้งแต่โบราณโดยเฉพาะการใช้ส่วน “ใบ” มาประกอบอาหาร

  • คนโบราณจะไม่ใส่ใบกัญชาในแกงขณะเคี่ยวบนไฟ เพราะเมื่อใบกัญชาโดนความร้อนหรือน้ำมัน สาร THCA ในใบกัญชาสดที่โดนความร้อนจะเปลี่ยนสภาพเป็น THC หรือสารเมา ที่หากรับประทานในปริมาณมากอาจมีอาหารมึนได้

  • ภูมิปัญญาโบราณฉลาดมาก ไม่ว่าจะในตำรายาไทยหรือตำรับอาหารไทย เราจะใช้กัญชาเข้ากับสมุนไพรรสร้อนเท่านั้น โดยเฉพาะพริกไทย เพราะพริกไทยมีสารพิเพอรีน (Piperine) ช่วยเพิ่มการออกฤทธิ์ของใบกัญชา ซึ่งช่วยให้คลายเครียดและนอนหลับได

นอกจากเมนูแกงปลาไหลแล้ว ใบกัญชายังนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด ที่นอกจากประโยชน์และสรรพคุณทางการแพทย์แล้ว กัญชายังทำให้รสชาติอาหารชัดเจนขึ้น ทำให้เราอยากอาหารมากขึ้น เรียกว่าทานอร่อยจนหมดจานไม่รู้ตัว แบบนี้อาหารไทยจึงถูกเรียกว่า อาหารไทยเป็นยาที่อร่อยที่สุดในโลกนั่นเอง

คำแนะนำ : ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ใบเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เพราะหากรับประทานมากกว่า 5 ใบ อาจจะส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น (หัวใจเต้นเร็ว), ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน มึนงง วิงเวียน และปวดหัวได้

เลือกซื้อสินค้าและวัตถุดิบไปปรุงเป็นอาหารไทยอร่อยและเป็นยาที่อร่อยที่สุดในโลกได้ที่ https://www.chimthai.asia/th/market/
ข้อมูลจากโครงการ Thai Taste Therapy